วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โครงการป้องกันน้ำท่วม

แนวคิด
เพื่อป้องกันน้ำท่วมโครงการ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ระดับความสูงของน้ำเทียบกับถนนภายในโครงการไม่เกิน 1 ม. โดยใช้แนวคิดดังนี้
1.ตรวจสอบระดับความสูงของน้ำที่จะเข้าท่วมโครงการ เพื่อกำหนดความสูงของคันกั้นน้ำ
2.ตรวจสอบช่วงเวลาที่น้ำจะเข้าท่วมโครงการ เพื่อจัดเตรียมเครื่องจักร วัสดุและอุปกรณ์
3.ทำคันกั้นน้ำ อุดรูรั่ว ลดการซึมของน้ำเข้าโครงการ
4.ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ สูบน้ำออกจากโครงการให้มากกว่าอัตราการซึมเข้า

วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมโครงการ

ความรับผิดชอบ
วิศวกร
มีหน้าที่ประเมินสถานการณ์ สำรวจโครงการ และควบคุมการปฎิบัติงานของพนักงานในโครงการ
ผู้ควบคุมงานโยธา
มีหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรทำคันกั้นน้ำ และควบคุมเครื่องสูบน้ำในโครงการ
ผู้ควบคุมงานบ้าน
มีหน้าที่ควบคุมคนงานกรอกและติดตั้งกระสอบทราย
ผู้จัดการสำนักงาน
มีหน้าที่จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกันน้ำท่วม

วิธีปฏิบัติ
การตรวจสอบปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
วิศวกรตรวจสอบปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนไหลมาถึงพื้นที่โครงการ โดยจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี สามารถตรวจสอบได้ที่สถานีบางไทรจาก Web Site ของกรมชลประทาน http://water.rid.go.th  แล้วนำข้อมูลมาประเมินผลเดังนี้



1.อัตราการไหลมากกว่า 3,500 ลบ.ม./วินาที เฝ้าระวัง
จัดพนักงานเฝ้าระวังที่โครงการ โดยมีหน้าที่ดังนี้
1.1.ตรวจวัดระดับน้ำในคลองใกล้โครงการและแม่น้าเจ้าพระยา เทียบกับระดับถนนในโครงการทุกวัน ช่วงน้ำขึ้นสูงสุด ตามเวลาของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ www.navy.mi.th
1.2.ตรวจวัดระดับน้ำในท่อระบายน้ำ ถ้าต่ำกว่าถนนน้อยกว่า 0.30 ม. ให้ปิดประตูน้ำที่บ่อบำบัดแล้วสูบน้ำออกคลอง
2.อัตราการไหลมากกว่า 4,000 ลบ.ม./วินาที จัดซื้ออุปกรณ์
รายการอุปกรณ์ที่จัดซื้อ
ถุงใส่ทราย จำนวน  15,000  ถุง
ทราย จำนวน  20ลบ.ม. (10 พ่วง)
หินคลุก จำนวน  200  ลบ.ม. (10 พ่วง)
ปั๊มสูบน้ำพยานาค 8(ดีเซล) จำนวน  10  เครื่อง
รายการเครื่องจักรประจำโครงการ
รถ JCB จำนวน 1 คัน
รถบรรทุก 6 ล้อ ดั๊ม จำนวน 1 คัน
รถ Back Hoe จำนวน 1 คัน
อุปกรณ์และอัตราการไหลของแต่ละโครงการอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยูกับขนาด สภาพพื้นที่ ความสูง-ต่ำของแต่ละโครงการ
               
การตรวจสอบระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
พนักงานที่อยู่เฝ้าโครงการตรวจสอบระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเทียบกับระดับถนนในโครงการ เพื่อนำข้อมูลมาประเมินหาความสูงของคันกั้นน้ำดังนี้
1.ถ่ายระดับถนนในโครงการไปไว้ที่เสาใต้สะพาน หรือจุดที่สามารถเขียนค่าระดับได้ ของคลองใกล้โครงการ บันทึกค่าความต่างระดับจากผิวน้ำ


2.ตรวจสอบความต่างระดับของผิวน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และในคลอง ที่ประตูน้ำเชื่อมคลอง


3.นำข้อมูลทั้งสองส่วนมาลบกันจะได้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเทียบกับระดับถนนในโครงการ



4.ถ้าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสูงกว่าถนนในโครงการให้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมทั้งหมด

เมื่อน้ำล้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าชิดคันกันน้ำ
วิศวกรโครงการตรวจสอบระดับน้ำนอกคันกั้นน้ำเทียบกับระดับถนนในโครงการ เพื่อทำแผนการทำงานประจำวัน

การวางแนวคันกั้นน้ำ และเครื่องสูบน้ำ
แนวคันกั้นน้ำ
1.แนวรั้วโครงการ
2.ในจุดที่ไม่มีรั้วโครงการให้ปั้นคันดินเหนียวด้วยรถ Back Hoe ถ้าคันดินสูงกว่า 1 ม. ให้เสริมความแข็งแรงด้วยเสาเข็มไม้
3.บริเวณถนนทางเข้าโครงการให้ปั้นคันหินคลุก เพื่อให้รถสามารถวิ่งเข้า-ออกได้
4.ในจุดที่เครื่องจักรเข้าไม่ได้ให้ทำคันกั้นน้ำด้วยกระสอบทราย
เครื่องสูบน้ำ
1.เครื่องสูบน้ำหลักให้ติดตั้งที่บ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นจุดที่น้ำจากท่อระบายน้ำจะไหลไปรวมกัน
2.จุดอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่จะสามารถติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกนอกคันกั้นน้ำได้

การฟื้นฟูสภาพโครงการ
ถ้าระดับน้ำภายนอกคันกั้นน้ำต่ำกว่าถนนภายในโครงการ โครงการจะปรับสภาพพื้นที่ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ตามขั้นตอนดังนี้
1.ระดับน้ำต่ำกว่าถนนในโครงการ 10 ซม. : รื้อถอนกระสอบทราย ปิดปั๊มสูบน้ำ
2.ระดับน้ำต่ำกว่าถนนในโครงการ 20 ซม. : รื้อถอนกระสอบทรายทั้งหมด รื้อคันหินคลุกหน้าโครงการ ล้างถนน
3.ระดับน้ำต่ำกว่าถนนนอกโครงการ รื้อคันกั้นน้ำทั้งหมด ซ่อมบ่อพัก ซ่อมสวน ล้างถนน

งบประมาณ
เงินสำรองจ่าย จำนวน 300,000 บาท โดยเก็บเป็นเงินสดไว้ที่ผู้จัดการสำนักงาน

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

เสาเข็มเยื้องศูนย์

วิธีแก้ไข พิจารณาจากประเภทของฐานรากและการเยื้องศูนย์ ดังนี้
1. ฐานรากเสาเข็มเดี่ยวและฐานรากเสาเข็มคู่ที่เยื้องศูนย์ด้านสั้น
–การแก้ไข เนื่องจาก ไม่ต้องการให้เกิดโมเมนต์ ในเสาเข็มและเสาตอม่อ เพราะจะทำให้เกิดแรงดึง ทำให้ฐานรากพลิกหลุดจากหัวเสาเข็ม ดังนั้น ตำแหน่งของฐานรากและเสาตอม่อ จะต้องอยู่ตำแหน่งเดียวกับเสาเข็มที่หนีศูนย์ ส่วนตำแหน่งของเสาอาคาร จะอยู่ตามแบบ ซึ่งทำให้ เสาตอม่อและเสาอาคาร ไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งเดียวกันได้ ดังนั้นคานคอดินจึงเป็นตัวรองรับเสาอาคารแทนเสาตอม่อ จึงต้องคำนวณขนาดและเหล็กเสริมของคานคอดินใหม่ เพื่อรองรับโมเมนต์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนักจากเสาอาคารกดลงบนคาน




2. ฐานรากเสาเข็มกลุ่ม
– หาโมเมนต์ที่เกิดขึ้นจากการเยื้องศูนย์ ระหว่างศูนย์กลางของกลุ่มเสาเข็ม กับศูนย์กลางของเสาตอม่อ
– หา นน. ที่ถ่ายลงเสาเข็มแต่ละต้น เสาเข็มแต่ละด้าน จะรับ นน. ไม่เท่ากัน เนื่องจากการเยื้องศูนย์ หาก นน. ที่ถ่ายลงเสาเข็ม มากกว่าความสามารถ ในการรับ นน. ปลอดภัยของเสาเข็ม จะต้องเพิ่มเสาเข็ม
– คำนวณเหล็กเสริมในฐานรากใหม่ เนื่องจากแขนโมเมนต์ยาวขึ้น ( กรณีเยื้องออกจากฐาน ) หรืออาจจะต้องขยายขนาดฐานรากถ้าจำเป็น
– คำนวณเหล็กเสริมในเสาตอม่อใหม่ เนื่องจากมีโมเมนต์ จากการเยื้องศูนย์ เพิ่มขึ้นมา นอกเหนือจากแรงในแนวแกน
– ตำแหน่งของเสาตอม่อและเสาอาคาร จะอยู่ตำแหน่งเดียวกัน ตามแบบ

 
 ตารางช่วยคำนวณโครงสร้าง






วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Internal QC

นวคิดโครงการ
เพื่อตรวจสอบคุณภาพของงานก่อสร้างบ้านในขั้นตอนสุดท้าย และตรวจสอบบ้าน
Stock ก่อนส่งมอบให้ลูกค้าหรือฝ่ายขาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมชมบ้านในโครงการเกิดความพึงพอใจในคุณภาพงานของบริษัทฯ ซึ่งจะทำให้ตัดสินใจซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น
2. ลดปัญหางานบริการหลังโอน ทำให้ลูกค้าเก่าประทับใจในตัวโครงการ เกิดการแนะนำเพื่อนต่อ
ๆ ไป

ความรับผิดชอบ
คณะทำงาน
มีหน้าที่ในการกำหนดกรอบและนโยบายในการปฏิบัติงาน ซึ่งประธานคณะทำงานมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กร
คณะกรรมการตรวจงาน
มีหน้าที่ออกตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้าง และรายงานผล
1. ตัวแทนฝ่ายก่อสร้าง จำนวน 1 คน
2. ตัวแทนฝ่ายสำนักงาน จำนวน 1 คน

3.
ตัวแทนฝ่ายขาย จำนวน 1 คน
ฝ่ายขาย
มีหน้าที่ดูแล และตรวจสอบสภาพบ้าน Stock
วิศวกรสนาม

มีหน้าที่จัดเก็บเอกสาร รวบรวมข้อมูล รายงานผลและติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ พร้อมสำหรับการตรวจสอบ และแก้ไขข้อบกพร่องตามรายการตรวจงาน
ผู้รับเหมา
มีหน้าที่ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ และแก้ไขข้อบกพร่องตามรายการตรวจงาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด

วิธีปฏิบัติ
กรณี
บ้าน End Process
1. กำหนดการตรวจงาน
เมื่อตัวบ้านเสร็จเรียบร้อยพร้อมสำหรับการตรวจสอบ ให้ผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่รับผิดชอบ ส่งใบคำขอให้ตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-01) ที่วิศวกรสนาม เพื่อให้คณะกรรมการตรวจงานเข้าดำเนินการตรวจสอบตามเวลาที่นัดหมาย
2. การ
ตรวจงาน
วิศวกรสนามนัดหมายคณะกรรมการตรวจงาน ซึ่งเป็นตัวแทนของ ฝ่ายก่อสร้าง, ฝ่ายสำนักงาน, ฝ่ายขาย คณะกรรมการตรวจงานเข้าตรวจสอบคุณภาพบ้านตามเวลาที่นัดหมาย โดยใช้แบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-02) และส่งผลการตรวจสอบให้วิศวกรสนาม
ถ้าผ่าน วิศวกรสนามสรุปผลการตรวจสอบลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
ถ้าไม่ผ่าน วิศวกรสนามส่งใบคำขอให้แก้ไข (
FM-03) ให้ผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่รับผิดชอบ พร้อมระบุวันตรวจสอบซ้ำ และบันทึกข้อมูลการตรวจสอบลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
3. การตรวจสอบซ้ำ

ผู้ควบคุมงานก่อสร้างนัดหมายคณะกรรมการตรวจงาน เข้าทำการตรวจสอบซ้ำตามกำหนดการในใบคำขอให้แก้ไข (FM-03)
4. การติดตามผลและประเมินผลการตรวจสอบ

วิศวกรสนามเป็นผู้กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
5. การรายงานผล

วิศวกรสนามรายงานผลการตรวจสอบ ในที่ประชุมงานก่อสร้าง ทุก 2 สัปดาห์ โดยใช้แบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
การรายงานผลการตรวจสอบ ให้รายงานในวันจันทร์ สัปดาห์ ที่ 1 และ 3 ของเดือน
6. การจัดเก็บเอกสาร
วิศวกรสนาม
เป็นผู้จัดเก็บเอกสาร โดยแยกเป็นหมวดหมู่ สามารถตรวจสอบข้อมูลและติดตามผลได้ง่าย



















กรณีบ้าน Stock
1. การตรวจงาน

ฝ่ายขายตรวจสอบสภาพความพร้อมของบ้านสำหรับขาย ถ้าไม่ผ่าน ให้ตรวจสอบโดยใช้แบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-02) และส่งผลการตรวจสอบให้วิศวกรสนาม
2. การแก้ไขงาน

วิศวกรสนามส่งใบคำขอให้แก้ไข (
FM-03) ให้ผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่รับผิดชอบ พร้อมระบุวันตรวจสอบซ้ำ และบันทึกข้อมูลการตรวจสอบลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
3. การตรวจสอบ

ฝ่ายขายเข้าทำการตรวจสอบหลังจากแก้ไขงานแล้วเสร็จ ตามรายการในแบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-02)
ถ้าผ่าน แจ้งให้วิศวกรสนามสรุปผลการตรวจสอบลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
ถ้าไม่ผ่าน ให้ส่งรายการแก้ไขให้วิศวกรสน
าม โดยใช้แบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-02)
4. การติดตามผลและประเมินผลการตรวจสอบ

วิศวกรสนามเป็นผู้กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
5. การรายงานผล

วิศวกรสนามรายงานผลการตรวจสอบ ในที่ประชุมงานก่อสร้าง ทุก 2 สัปดาห์ โดยใช้แบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
การรายงานผลการตรวจสอบ ให้รายงานในวันจันทร์ สัปดาห์ ที่ 1 และ 3 ของเดือน

6. การจัดเก็บเอกสาร

วิศวกรสนามเป็นผู้จัดเก็บเอกสาร โดยแยกเป็นหมว
ดหมู่ สามารถตรวจสอบข้อมูลและติดตามผลได้ง่าย
















งบประมาณ

1. ในการตรวจเพื่อผ่านงวด End Process ผู้รับเหมาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงานทั้งหมด
2. ในการตรวจบ้
าน Slow Move (ค้าง Stock เกิน 3 เดือน) และ Non Move (ค้าง Stock เกิน 6 เดือน) บริษัทฯ ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงาน เป็นจำนวนไม่เกิน 1% ของมูลค่างานก่อสร้าง โดยใช้แบบฟอร์มตรวจสอบและแจ้งยอดค่าใช้จ่ายในการเก็บงาน (CON 5-01)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. FM-01 ใบคำขอให้ตรวจสอบคุณภาพบ้าน
2.
FM-02 แบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน
3.
FM-03 ใบคำขอให้แก้ไข (CAR)
4. FM-04 แบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ

































































































































ตัวอย่างการประเมินผล















































วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ตารางช่วยคำนวณ Blow Count



หลังจากคำนวณแล้วให้สั่งเสาเข็มตามความยาวที่ประมาณการไว้ประมาณ 5-10 ต้นเพื่อทดลองตอกดูว่าได้ค่า Blow Count ตามที่คำนวณไว้หรือไม่
1. ถ้ามีค่าน้อยกว่า ให้ลดความยาวเสาเข็มโดยดูจากค่า Blow Count ที่ตอกจริงว่าได้ Blow Count ตามที่คำนวณไว้ที่ความลึกเท่าไร
2. ถ้ามีค่ามากกว่า ให้ส่งหัวเสาเข็มลงอีกจนกว่าจะได้ค่า Blow Count ตามที่คำนวณไว้ แล้วสั่งเสาเข้มเพิ่มเติมโดยเพิ่มความยาวเสาเข็มตามความลึกที่ตอกได้
หลังจากที่เปลี่ยนความยาวเสาเข็มแล้ว ให้คำนวณโดยใช้ความยาวใหม่ แล้วตรวจสอบ Blow Count จากการตอกเสาเข็มอีกครั้ง

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ข้อกำหนดของระบบคุณภาพ ISO 9000 : 1994

ความหมายของ
· คุณภาพ (Quality)
· มาตรฐาน (Standard)
· เกรด (Grade)
· ข้อกำหนดทางเทคนิค (Specification)

ข้อกำหนดของระบบคุณภาพ ISO 9000
1. ความรับผิดชอบด้านการบริหาร (Management Responsibility)
a. นโยบายคุณภาพ (Quality Policy)
b. การจัดองค์กร (Organization)
- Job Description
- ตัวแทนฝ่ายบริหาร (Quality Management Representative : QMR)
c. การทบทวนของฝ่ายบริหาร
2. ระบบคุณภาพ (Quality System)
คู่มือคุณภาพ (Quality Manual)
a. ระเบียบวิธีปฏิบัติ (Procedure)
b. วิธีปฏิบัติงาน (Work Instructions)
3. การทบทวนข้อตกลง (Contract Review)
a. การทบทวนความต้องการของลูกค้าก่อนการผลิต
b. การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง
c. การบันทึก/การเก็บบันทึก
4. การควบคุมการออกแบบ (Design Control)
a. ขั้นตอนการออกแบบ
b. ความสมบรูณ์ของแบบ
c. การตรวจสอบก่อนใช้งาน
5. การควบคุมเอกสารและข้อมูล (Document and Data Control)
a. การรับรองและการเผยแพร่เอกสารและข้อมูล
b. การเปลี่ยนแปลงเอกสารและข้อมูล
6. การจัดซื้อ
a. การประเมินผู้รับจ้างช่วง
b. รายชื่อของผู้รับจ้างช่วงที่ยอมรับได้ (Approved Vendor List : AVL)
c. การทวนสอบผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อ
- การทวนสอบ ณ สถานประกอบการ
- การทวนสอบโดยลูกค้า
7. การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบโดยลูกค้า (Control of Customer-supplied Product)
a. ต้องถือว่าผลิตภัณฑ์ที่ส่งมาโดยลูกค้าเสมือนผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อเข้ามา
b. มีการตรวจรับ การชี้บ่ง การเก็บรักษา การตรวจสอบ การนำไปใช้
8. การชี้บ่งและสอบกลับได้ของผลิตภัณฑ์(Product Identification and Traceability)
a. สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงข้อมูลแต่ละอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาได้
b. ใช้ดัชนีเอกสาร และดัชนีของเอกสารที่เกี่ยวข้อง
9. การควบคุมกระบวนการ (Process Control)
a. มีสภาวะควบคุม (Controlled Condition)
b. มีระเบียบปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร
c. มีการควบคุมสภาพของเครื่องมือในการผลิต การติดตั้งและการบริการ
d. มีความสอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด คำแนะนำในการผลิต
e. มีการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
f. มีการควบคุมวิธีการอนุมัติใช้
g. มีการระบุคุณภาพของฝีมือแรงงาน
h. มีการซ่อมบำรุงรักษาสภาพเครื่องมือในการผลิตอย่างเหมาะสมตลอดเวลา
10. การตรวจและการทดสอบ (Inspection and Testing)
a. การตรวจและการทดสอบรับเข้า (Receiving Inspection and Testing)
b. การตรวจและการทดสอบระหว่างการผลิต (In-process Inspection and Testing)
c. การตรวจและการทดสอบขั้นสุดท้าย (Final Inspection and Testing)
d. บันทึกการตรวจและการทดสอบ (Inspection and Test Records)
11. การควบคุมเครื่องตรวจ เครื่องวัด และเครื่องทดสอบ (Control of Inspection, Measuring and Test Equipment)
a. ต้องชี้บ่งสถานการณ์สอบเทียบ
b. กำหนดความถี่ในการสอบเทียบ
c. จัดเก็บเครื่องมือในลักษณะที่เหมาะสม เพื่อรักษาความเที่ยงตรงแม่นยำ
12. สถานการณ์ตรวจและการทดสอบ (Inspection and Test Status)
เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบให้ลูกค้านั้น ผ่านการตรวจ และการทดสอบอย่างถูกต้องแล้ว
- ป้าย QC Passed
13. การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Control of Non-conforming Product)
a. ทำซ่อม
b. ยอมรับ
c. ลดเกรด
d. คัดทิ้ง
14. การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันปัญหา (Corrective and Preventive Action)
a. มาตรการที่มีประสิทธิผลด้านการตอบรับคำร้องเรียนจากลูกค้า
b. การสอบสวนไปถึงสาเหตุแห่งความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์
c. การพิจารณา/ปฏิบัติการเพื่อกำจัดสาเหตุของปัญหา
d. มาตรการในการควบคุมเพื่อสร้างความมั่นใจว่า ได้มีการปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาจริง
e. การใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบ เพื่อการจัดทำมาตรการในการป้องกันสาเหตุของปัญหา
f. ใช้ผลการตรวจเพื่อประกอบการทบทวนของฝ่ายบริหาร
15. การเคลื่อนย้าย การเก็บ การบรรจุ การรักษาสภาพและการส่งมอบ (Handling, Storage, Packaging, Preservation and Delivery)
เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่า กระบวนการจัดส่ง/ส่งมอบ ไม่กระทบกระเทือนต่อคุณภาพของสินค้า
16. การควบคุมบันทึกคุณภาพ (Control of Quality Records)
a. การเก็บรวบรวม
b. การให้ดัชนีเอกสาร
c. การเข้าถึงข้อมูลเอกสาร
d. การเข้าแฟ้ม
e. การจัดเก็บรักษา
f. การทำลายทิ้ง
17. การตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal Quality Audits)
a. ผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Auditors)
b. ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ (Assessors)
c. จะต้องไม่กระทำโดยบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบในพื้นที่หรือหน่วยงานที่รับการตรวจนั้นโดยตรง
d. ใช้ผลการตรวจเพื่อประกอบการทบทวนของฝ่ายบริหาร
18. การฝึกอบรม (Training)
a. การสำรวจหาความจำเป็น หรือความต้องการด้านการฝึกอบรม
b. จัดการฝึกอบรมอย่างเพียงพอแก่พนักงานทุกคน
19. การบริการ (Servicing)
a. มีระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการให้บริการหลังการขาย
b. มีการประเมินผลการให้บริการ
20. กลวิธีทางสถิติ (Statistical Techniques)
a. ประเมินสถานะของกระบวนการ (Process Capability)
b. ประเมินลักษณะจำเพาะทางคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (Product Characteristics)

วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551

การดูแลรักษาบ้าน

1. การต่อเติมบ้าน
ในการต่อเติมบ้านที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกให้กับโครงสร้างของตัวอาคาร ซึ่งวิศวกรได้คำนวณขนาดของโครงสร้างไว้รับน้ำหนักเฉพาะที่ออกแบบไว้ตามแบบเท่านั้น การต่อเติมบ้านจึงอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านเกิดการทรุดตัว หรือโครงสร้างเกิดการแตกร้าว ดังนั้นจึงควรปรึกษาวิศวกรก่อนทำการต่อเติม และต้องปฎิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังนี้
ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่ที่ดิน
บ้าน 2 ชั้น ผนังบ้านด้านที่อยู่ชิดบ้านหลังอื่น ที่มีช่องเปิด ประตู หน้าต่าง ต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร ถ้าเป็นผนังทึบ ไม่มีช่องเปิด สามารถสร้างห่างเขตที่ดินได้น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าห่างเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เซ็นติเมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินด้านนั้นด้วย

2. พื้นที่จอดรถ
พื้นที่จอดรถเป็นโครงสร้างที่ไม่มีเสาเข็มรองรับ เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่วางอยู่บนดินโดยตรง ซึ่งจะเกิดการทรุดตัวไปตามการทรุดตัวของดินตามธรรมชาติ เมื่อใช้งานไประยะเวลานานๆ อาจจะเกิดรอยแตกที่รอยต่อของคอนกรีตระหว่างตัวบ้านและพื้นที่จอดรถบ้าง ซึ่งในการซ่อมแซมอาจจะใช้ปูนซีเมนต์อุดตามรอยแตกที่เกิดขึ้น

3. กระเบื้องเซรามิค
กระเบื้องเซรามิคสำหรับการปูพื้นและผนัง เป็นวัสดุที่นิยมใช้กันทุกหลังคาเรือน เนื่องจากมีความสวยงาม ก่อสร้างง่าย มีระดับราคาให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับคุณภาพและลวดลายของกระเบื้อง
วิธีการดูแลรักษา ต้องระวังพยายามอย่าให้ของที่มีน้ำหนักตกกระทบ เพราะจะทำให้กระเบื้องแตกร้าวได้ การทำความสะอาดให้ใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดาบิดให้หมาดๆเช็ดถู กรณีในห้องน้ำการใช้น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำที่มีฤทธิ์รุนแรงเกินไป อาจจะทำลายปูนซีเมนต์ขาวที่ใช้ยาแนวกระเบื้อง จนทำให้น้ำซึมเข้าใต้แผ่นกระเบื้องได้
การซ่อมแซมกระเบื้องที่แตกร้าว ให้สกัดกระเบื้องแผ่นที่แตกออก ทำความสะอาดผิวคอนกรีตด้านล่าง ติดกระเบื้องแผ่นใหม่โดยใช้ปูนกาวสำหรับติดกระเบื้อง แล้วยาแนวรอยต่อของแผ่นกระเบื้องด้วยปูนซีเมนต์ขาว

4. ไม้ปาร์เก้
ไม้ปาร์เก้เป็นวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ นิยมนำมาใช้ปูพื้นบ้าน พื้นไม้ปาร์เก้ส่วนใหญ่จะมีการเคลือบเงาบนผิวไม้เป็นการรักษาเนื้อไม้และทำให้แลดูสวยงาม
วิธีดูแลรักษา ควรระมัดระวังเรื่องความชื้น เพราะความชื้นจะทำให้พื้นปาร์เก้บวม โปร่งพอง และน้ำที่ซึมลงไปใต้แผ่นไม้ปาร์เก้ จะทำให้กาวที่ยึดปาร์เก้กับพื้นด้านล่างเสื่อมคุณภาพ ทำให้ปาร์เก้หลุดล่อน ดังนั้นถ้าทำน้ำหกใส่บนพื้นไม้ปาร์เก้ หรือโดนน้ำฝน ควรรีบเช็ดให้แห้ง และอย่าลากเฟอร์นิเจอร์กับพื้น เพราะจะทำให้พื้นไม้เป็นรอย ควรใช้การยกแทน
การทำความสะอาด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดถูบนพื้นไม้ หากพื้นไม้ไม่ค่อยเงางาม ให้ใช้ขี้ผึ้งเคลือบเงาทับ

5. หินแกรนิต

แกรนิตเป็นวัสดุธรรมชาติที่นิยมนำมาใช้ในการปูพื้นและผนัง แต่ค่อนข้างมีราคาแพง นิยมใช้ตกแต่งทั้งบ้านและสำนักงาน
วิธีดูแลรักษา ระมัดระวังไม่ให้ถูกสิ่งสกปรกที่สามารถซึมลงไปในเนื้อหินได้ เช่น คราบสีฝุ่น, คราบยางไม้ เพาะจะไม่สามารถเอาคราบสกปรกนั้นออกมาได้
การทำความสะอาด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดถู โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดใดๆ

6. หินอ่อน
หินอ่อนเป็นวัสดุธรรมชาติที่นิยมนำมาใช้ในการปูพื้นและผนังเหมือนหินแกรนิต
วิธีดูแลรักษา ระมัดระวังไม่ให้ถูก น้ำยาฟอกสี และผงซักฟอก เพาะจะทำให้หินอ่อนมีรอยด่าง และหินอ่อนเป็นหินที่อ่อนจึงไม่ควรนำวัสดุเนื้อหยาบมาขัดถู
การทำความสะอาด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ และเช็ดถู โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดใดๆ

7. Wall Paper
วิธีดูแลรักษา ควรระมัดระวังเรื่องความชื้น เพราะความชื้นจะทำให้ Wall Paper โปร่งพอง หรือขึ้นรา ดังนั้นถ้าทำน้ำหกใส่ Wall Paper หรือโดนน้ำฝน ควรรีบเช็ดให้แห้ง
การทำความสะอาด Wall Paper จากฝุ่นละอองต่างๆ ทำได้โดยใช้ไม้กวาดหรือไม้ปัดขนไก่ปัดทำความสะอาดหรือใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดก็ได้ แต่หากดูแล้วยังไม่สะอาดจำเป็นต้องใช้การเช็ดถู ต้องทำการทดลองก่อนว่า Wallpaper ที่ใช้อยู่เป็นชนิดที่สามารถเช็ดถูด้วยน้ำได้หรือไม่ โดยทดลองเช็ดถูด้วยน้ำในบริเวณเล็กๆ ก่อนว่ามีรอยด่างหรือไม่ หากไม่เกิดรอยด่างแสดงว่าเป็นชนิดที่สามารถเช็ดถูด้วยน้ำได้
หาก Wall Paper เป็นชนิดที่เช็ดถูด้วยน้ำไม่ได้และเกิดรอยด่างเป็นดวงๆ ให้ใช้ครีมที่ทำความสะอาด Wall Paper โดยเฉพาะ จะสามารถแก้รอยด่างได้ ส่วนถ้าเกิดรอยดำจากเชื้อรา จะไม่สามารถเช็ดถูออกได้ วิธีแก้ไขคือต้องทำการลอกส่วนที่เป็นเชื้อราออก และทำการปิด Wall Paper ใหม่

8. ประตู - หน้าต่าง

วิธีดูแลรักษา ควรระมัดระวังไม่ให้บานประตู เปิดปิดอย่างรุนแรง เพราะลูกบิดอาจจะไปชนถูกผนังรอยเดือยของลูกบิดอาจจะเคลื่อน ทำให้เปิดปิดประตูยากขึ้น และไม่ควรให้เด็กห้อยโหนลูกบิดประตูเล่น นอกจากจะเกิดอันตรายแล้วยังทำให้ลูกบิดเสียและตัวบานพับหลวม ส่งผลทำให้ตัวบานตก ประตูจะฝืดขณะเปิดปิด
หากเป็นประตู – หน้าต่าง ที่เป็นลูกฟักกระจก เมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลานานๆ ขณะฝนตกอาจจะมีน้ำซึมเข้าตามขอบกระจก เนื่องจากซิลิโคนที่ใช้อุดร่องรอยต่อระหว่างกรอบบานไม้และกระจกเสื่อมสภาพ หรือหลุดล่อน ให้ลอกซิลิดคนเก่าออกแล้วอุดซิลิโคนใหม่เข้าไป
การทำความสะอาด บานประตูและบานหน้าต่างทำจากวัสดุหลัก 2 ประเภทคือ ตัวบานที่ทำจากไม้กับตัวบานที่ทำจากพลาสติก แต่การดูแลรักษาประตูหน้าต่างจะไม่ค่อยแตกต่างมากนักคือ หากมีคราบสกปรกใช้ผ้าแห้งหรือชุบน้ำสะอาดหมาดๆ เช็ดถู

9. ดวงโคม

ดวงโคมที่ใช้งานทั่วๆ ไป จะมีอยู่ 2 ชนิดคือ ดวงโคมที่ใช้หลอดนีออน เช่น ดวงโคมซาลาเปาซึ่งใช้หลอดนีออนกลม และดวงโคมนีออนยาว ชนิดที่ 2 คือ ดวงโคมที่ใช้หลอดไส้ เช่น ดวงโคมดาวน์ไลท์
สำหรับดวงโคมที่ใช้หลอดนีออน จะมีอุปกรณ์หลักๆ อยู่ภายใน 3 อย่างคือ หลอดนีออน สตาร์ทเตอร์ และ บาลลาส ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีอายุการใช้งานที่จำกัด เมื่อหมดอายุการใช้งานจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเปลี่ยนค่อนข้างบ่อยคือหลอดนีออนและสตาร์ทเตอร์ วิธีการสังเกตว่าหลอดนีออนหมดอายุการใช้งานให้ดูที่ขั้วหลอดถ้าขั้วหลอดมีสีดำแสดงว่าหลอดหมดอายุการใช้งานแล้ว ให้ถอดออกเปลี่ยนใหม่ การถอดหลอดนีออนกลม ให้ดึงปลั๊กสายไฟออกจากตัวหลอด จากนั้นจึงดึงหลอดออกจากที่ยึด การถอดหลอดนีออนยาวให้ดันตัวหลอดไปที่ขั้วข้างใดข้างหนึ่ง จนอีกข้างหลุดออกจากขั้ว แล้วจึงดึงหลอดออกมา สำหรับสตาร์ทเตอร์ ถ้าเปิดสวิทซ์ไฟแล้วสตาร์ทเตอร์ไม่ทำงานไฟจะไม่ติด ให้ตรวจสอบหลอดไฟ ถ้าหลอดปกติให้ลองเปลี่ยนสตาร์ทเตอร์ วิธีการเปลี่ยนสตาร์ทเตอร์ให้หมุนตัวสตาร์ทเตอร์เล็กน้อย จนหลุดจากที่ล็อคแล้วจึงดึงสตาร์ทเตอร์ออกมา
สำหรับดวงโคมที่ใช้หลอดไส้ วิธีการสังเกตว่าหลอดหมดอายุการใช้งานให้ดูที่ไส้หลอด ถ้าไส้หลอดขาด ให้ถอดออกเปลี่ยนใหม่ การถอดหลอดไฟในกรณีที่เป็นแบบขั้วเกลียว ให้หมุนหลอดไฟจนหลอดหลุดออกจากขั้ว

10. ถังเก็บน้ำ

ถังเก็บน้ำโดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบตั้งอยู่บนดิน ซึ่งทำจากวัสดุประเภท สเตนเลส ไฟเบอร์กลาส หรือ PE (Poly Ethylene) และแบบฝังใต้ดิน ซึ่งทำจากวัสดุประเภท ไฟเบอร์กลาส หรือ PE (Poly Ethylene) ภายในตัวถังจะมีวาล์วเปิดปิดน้ำอัตโนมัติโดยใช้ระบบลูกลอย ซึ่งเมื่อไม่มีน้ำในถังลูกลอยจะตกลงทำให้วาล์วเปิดน้ำจะไหลเข้าถัง และเมื่อน้ำเต็มถังระดับน้ำจะดันลูกลอยขึ้นทำให้วาล์วปิดน้ำจะหยุดไหล ซึ่งถ้าลูกลอยเสียอาจจะทำให้น้ำไหลเข้าถังตลอดเวลาจนน้ำล้นถัง หรือไม่มีน้ำไหลเข้าถังเลย วิธีการตรวจสอบให้ใช้มือยกลูกลอยขึ้นลง ดูการเปิดปิดของวาล์ว ถ้าวาล์วไม่ทำงานแสดงว่าลูกลอยเสีย ให้ถอดออกเปลี่ยนชุดลูกลอยใหม่

11. ถังบำบัดน้ำเสีย

ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป จะใช้แบคทีเรียในการย่อยสลายสารอินทรีย์ จะรับน้ำเสียจากชักโครกเท่านั้น ส่วนน้ำจากครัวและตะแกรงระบายน้ำที่พื้นจะไหลลงสุ่บ่อพักโดยตรง น้ำที่ผ่านการบำบัดจากถังบำบัดแล้วจะไหลลงบ่อพัก แล้วระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ตัวถังบำบัดน้ำเสัยทำจากวัสดุประเภท PE (Poly Ethylene) เป็นแบบฝังใต้ดิน จะสังเกตุเห็นฝาถังอยู่ภายนอกตัวบ้าน ซึ่งไม่ควรเอาวัตถุที่มีน้ำหนักมากวางทับ เพราะอาจจะทำให้ตัวถังแตกเสียหายได้

12. ปั๊มสูบน้ำ

ระบบ การทำงานของปั๊มสูบน้ำ จะสูบน้ำจากถังเก็บน้ำขึ้นไปจ่ายบนตัวบ้าน โดยจะทำงานอัตโนมัติด้วยสวิทซ์แรงดัน หมายถึงเมื่อเปิดก็อกน้ำ จะทำให้แรงดันในเส้นท่อลดลงสวิทซ์จะเปิดให้ปั๊มทำงาน และเมื่อปิดก๊อกน้ำปั๊มจะอัดน้ำเข้าเส้นท่อจนมีแรงดันเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง สวิทซ์จะปิด ปั๊มจะหยุดทำงาน ซึ่งถ้าบางจุดเกิดท่อแตก ท่อรั่ว หรือลูกลอยของชักโครกบางตัวเสีย ไม่ปิดน้ำเมื่อน้ำเต็มหม้อน้ำ ทำให้น้ำล้นลงในชักโครกตลอดเวลา ปั๊มจะทำงานไม่หยุด ต้องทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก่อน ปั๊มจึงจะทำงานเป็นปกติ
ในกรณีที่ไฟฟ้า ดับปั๊มจะไม่ทำงาน ถ้าต้องการใช้น้ำภายในบ้านให้เปิดวาล์ว By Pass น้ำจากท่อเมนประปาจะวิ่งเข้าบ้านโดยตรงโดยไม่ผ่านปั๊มสูบน้ำ แต่หลังจากไฟฟ้าติดแล้วให้ปิดวาล์ว By Pass กลับไปใช้ปั๊มตามปกติ ตำแหน่งวาล์ว By Pass สามารถดูได้จากผังระบบประปา

13. อ่างล้างหน้า
อ่างล้างหน้าจะมีที่ดักกลิ่นโดยใช้ระบบการขังตัวของน้ำภายในท่อเพื่อกันไม่ให้กลิ่นจากด้านล่างผ่านขึ้นมา ซึ่งโดยทั่วไปมีใช้อยู่ 2 แบบ คือ แบบข้องอ และแบบกระปุก ซึ่งถ้ามีสิ่งสกปรกตกลงไปอาจจะไปขังที่ส่วนนี้ ทำให้ระบายน้ำไม่ได้หรือระบายได้ช้า วิธีการแก้ไขต้องถอดท่อส่วนดักกลิ่นออก ซึ่งออกแบบไว้ให้ถอดออกทำความสะอาดได้ โดยให้ขันเกลียวที่ยึดส่วนดักกลิ่นออกทั้ง 2 ด้าน ฉีดน้ำล้างสิ่งสกปรกที่อยู่ภายในออก แล้วประกอบกลับเข้าไปตามเดิม ซึ่งที่เกลียวยึดท่อจะมีแหวนยางสำหรับป้องกันการรั่วซึม ถ้าแหวนยางเสื่อมคุณภาพ จะทำให้น้ำรั่วซึมออกจากรอยต่อ ต้องเปลี่ยนแหวนยางใหม่

14. ชักโครก

ชักโครกจะมีหม้อน้ำสำหรับเก็บน้ำไว้ใช้งาน ซึ่งการเปิดปิดน้ำของหม้อน้ำจะเป็นระบบอัตโนมัติ โดยใช้ลูกลอย เหมือนถังเก็บน้ำ และมีระบบน้ำล้นลงในตัวชักโครกเอง ซึ่งถ้าระบบลูกลอยเสีย อาจจะทำให้วาล์วไม่ปิดเมื่อน้ำเต็มถัง ซึ่งจะทำให้น้ำล้นลงไปที่ตัวชักโครกตลอดเวลา วิธีแก้ไขต้องซ่อมระบบลูกลอยหรือเปลี่ยนชุดลูกลอยใหม่

15. สายฉีดชำระ
สำหรับอายุการใช้งานของฝักบัวฉีดชำระ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคล เนื่องจากเป็นวัสดุประเภทพลาสติก ดังนั้น การใช้งานจึงไม่ควรทำตกกระแทกพื้นบ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้มีรอยร้าวที่ก้านกดน้ำและเป็นผลให้หักได้ในเวลาต่อมา จะเห็นได้ว่าก้านพลาสติกที่เป็นตัวกดน้ำนี้มักจะแตกหักเสียหายก่อนชิ้นส่วนอื่นเสมอ และหากชำรุดก็ต้องซื้อหัวฉีดชำระมาเปลี่ยนใหม่ การถอดเปลี่ยนให้ใช้ประแจคอม้า หรือคีมขันเกลียวที่ยึดหัวฉีดชำระออก แล้วใส่ของใหม่ทดแทนเข้าไป โดยใส่ประเก็นยางเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมแล้วจึงขันหัวเกลียวให้แน่นพอประมาณ

16. ระบบท่อระบายน้ำ

ท่อระบายน้ำชั้นบนจะมีที่ดักกลิ่น (P-Trap) อยู่ใต้พื้นห้องน้ำโดยใช้ระบบการขังตัวของน้ำภายในท่อเพื่อกันไม่ให้กลิ่น จากด้านล่างผ่านขึ้นมา ส่วนท่อระบายน้ำชั้นล่างจะใช้ตะแกรงระบายน้ำที่พื้นชนิดกันกลิ่นที่พื้นห้อง น้ำ โดยใช้ระบบการขังตัวของน้ำภายในตัวตะแกรงระบายน้ำเพื่อกันไม่ให้กลิ่นจาก ด้านล่างผ่านขึ้นมา

17. รั้วเหล็ก

รั้วเหล็กภายนอกบ้าน เมื่อโดนแดดโดนฝนเป็นระยะเวลานานๆ สีกันสนิมที่ทาไว้เดิมอาจจะเสื่อมคุณภาพลงตามกาลเวลา อาจจะเกิดสนิมขึ้นบางจุดและจะลามต่อเนื่องกัดกินเนื้อเหล็กไปเรื่อยๆ ต้องทำการทาสีกันสนิมใหม่ ก่อนที่โครงสร้างของเหล็กจะเสียหายมากโดยขัดสีเดิมที่หลุดล่อนออกก่อน แล้วจึงทาสีใหม่ทับลงไป เพื่อสีที่ทาลงไปใหม่จะได้ยึดเกาะกับผิวเหล็กได้ดี ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

18. ระบบกำจัดปลวก

ระบบกำจัดปลวก โดยวางท่อน้ำยาเคมี เป็นระบบที่วางท่อสำหรับฉีดน้ำยาเคมีไว้ใต้ตัวบ้าน โดยติดตั้งหัวฉีดตามท่อไว้เป็นจุดๆ ให้สามารถกระจายน้ำยาเคมีได้เต็มพื้นที่ และทิ้งปลายท่อสำหรับอัดน้ำยาไว้นอกตัวบ้าน ในกรณีที่น้ำยาที่ฉีดไว้เดิมเสื่อมสภาพสามารถฉีดน้ำยาลงไปใหม่ได้โดยไม่ต้อง เจาะพื้นบ้าน
ในกรณีที่อยู่ในอายุการรับประกัน บริษัทกำจัดปลวกจะเข้ามาตรวจสอบให้เป็นระยะ ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในใบรับประกัน หรือหากตรวจพบปลวกในบ้านสามารถโทรแจ้งบริษัทกำจัดปลวก ให้ส่งพนักงานมาตรวจสอบและกำจัดปลวกได้
ในกรณีที่หมดอายุการรับประกันแล้ว สามารถจัดจ้างบริษัทกำจัดปลวกเข้ามาฉีดน้ำยาเคมีและรับประกันให้ใหม่ โดยใช้ระบบท่อที่วางไว้เดิม

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต