วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

เสาเข็มเยื้องศูนย์

วิธีแก้ไข พิจารณาจากประเภทของฐานรากและการเยื้องศูนย์ ดังนี้
1. ฐานรากเสาเข็มเดี่ยวและฐานรากเสาเข็มคู่ที่เยื้องศูนย์ด้านสั้น
–การแก้ไข เนื่องจาก ไม่ต้องการให้เกิดโมเมนต์ ในเสาเข็มและเสาตอม่อ เพราะจะทำให้เกิดแรงดึง ทำให้ฐานรากพลิกหลุดจากหัวเสาเข็ม ดังนั้น ตำแหน่งของฐานรากและเสาตอม่อ จะต้องอยู่ตำแหน่งเดียวกับเสาเข็มที่หนีศูนย์ ส่วนตำแหน่งของเสาอาคาร จะอยู่ตามแบบ ซึ่งทำให้ เสาตอม่อและเสาอาคาร ไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งเดียวกันได้ ดังนั้นคานคอดินจึงเป็นตัวรองรับเสาอาคารแทนเสาตอม่อ จึงต้องคำนวณขนาดและเหล็กเสริมของคานคอดินใหม่ เพื่อรองรับโมเมนต์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนักจากเสาอาคารกดลงบนคาน




2. ฐานรากเสาเข็มกลุ่ม
– หาโมเมนต์ที่เกิดขึ้นจากการเยื้องศูนย์ ระหว่างศูนย์กลางของกลุ่มเสาเข็ม กับศูนย์กลางของเสาตอม่อ
– หา นน. ที่ถ่ายลงเสาเข็มแต่ละต้น เสาเข็มแต่ละด้าน จะรับ นน. ไม่เท่ากัน เนื่องจากการเยื้องศูนย์ หาก นน. ที่ถ่ายลงเสาเข็ม มากกว่าความสามารถ ในการรับ นน. ปลอดภัยของเสาเข็ม จะต้องเพิ่มเสาเข็ม
– คำนวณเหล็กเสริมในฐานรากใหม่ เนื่องจากแขนโมเมนต์ยาวขึ้น ( กรณีเยื้องออกจากฐาน ) หรืออาจจะต้องขยายขนาดฐานรากถ้าจำเป็น
– คำนวณเหล็กเสริมในเสาตอม่อใหม่ เนื่องจากมีโมเมนต์ จากการเยื้องศูนย์ เพิ่มขึ้นมา นอกเหนือจากแรงในแนวแกน
– ตำแหน่งของเสาตอม่อและเสาอาคาร จะอยู่ตำแหน่งเดียวกัน ตามแบบ

 
 ตารางช่วยคำนวณโครงสร้าง






วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Internal QC

นวคิดโครงการ
เพื่อตรวจสอบคุณภาพของงานก่อสร้างบ้านในขั้นตอนสุดท้าย และตรวจสอบบ้าน
Stock ก่อนส่งมอบให้ลูกค้าหรือฝ่ายขาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมชมบ้านในโครงการเกิดความพึงพอใจในคุณภาพงานของบริษัทฯ ซึ่งจะทำให้ตัดสินใจซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น
2. ลดปัญหางานบริการหลังโอน ทำให้ลูกค้าเก่าประทับใจในตัวโครงการ เกิดการแนะนำเพื่อนต่อ
ๆ ไป

ความรับผิดชอบ
คณะทำงาน
มีหน้าที่ในการกำหนดกรอบและนโยบายในการปฏิบัติงาน ซึ่งประธานคณะทำงานมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กร
คณะกรรมการตรวจงาน
มีหน้าที่ออกตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้าง และรายงานผล
1. ตัวแทนฝ่ายก่อสร้าง จำนวน 1 คน
2. ตัวแทนฝ่ายสำนักงาน จำนวน 1 คน

3.
ตัวแทนฝ่ายขาย จำนวน 1 คน
ฝ่ายขาย
มีหน้าที่ดูแล และตรวจสอบสภาพบ้าน Stock
วิศวกรสนาม

มีหน้าที่จัดเก็บเอกสาร รวบรวมข้อมูล รายงานผลและติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ พร้อมสำหรับการตรวจสอบ และแก้ไขข้อบกพร่องตามรายการตรวจงาน
ผู้รับเหมา
มีหน้าที่ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ และแก้ไขข้อบกพร่องตามรายการตรวจงาน ภายในระยะเวลาที่กำหนด

วิธีปฏิบัติ
กรณี
บ้าน End Process
1. กำหนดการตรวจงาน
เมื่อตัวบ้านเสร็จเรียบร้อยพร้อมสำหรับการตรวจสอบ ให้ผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่รับผิดชอบ ส่งใบคำขอให้ตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-01) ที่วิศวกรสนาม เพื่อให้คณะกรรมการตรวจงานเข้าดำเนินการตรวจสอบตามเวลาที่นัดหมาย
2. การ
ตรวจงาน
วิศวกรสนามนัดหมายคณะกรรมการตรวจงาน ซึ่งเป็นตัวแทนของ ฝ่ายก่อสร้าง, ฝ่ายสำนักงาน, ฝ่ายขาย คณะกรรมการตรวจงานเข้าตรวจสอบคุณภาพบ้านตามเวลาที่นัดหมาย โดยใช้แบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-02) และส่งผลการตรวจสอบให้วิศวกรสนาม
ถ้าผ่าน วิศวกรสนามสรุปผลการตรวจสอบลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
ถ้าไม่ผ่าน วิศวกรสนามส่งใบคำขอให้แก้ไข (
FM-03) ให้ผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่รับผิดชอบ พร้อมระบุวันตรวจสอบซ้ำ และบันทึกข้อมูลการตรวจสอบลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
3. การตรวจสอบซ้ำ

ผู้ควบคุมงานก่อสร้างนัดหมายคณะกรรมการตรวจงาน เข้าทำการตรวจสอบซ้ำตามกำหนดการในใบคำขอให้แก้ไข (FM-03)
4. การติดตามผลและประเมินผลการตรวจสอบ

วิศวกรสนามเป็นผู้กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
5. การรายงานผล

วิศวกรสนามรายงานผลการตรวจสอบ ในที่ประชุมงานก่อสร้าง ทุก 2 สัปดาห์ โดยใช้แบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
การรายงานผลการตรวจสอบ ให้รายงานในวันจันทร์ สัปดาห์ ที่ 1 และ 3 ของเดือน
6. การจัดเก็บเอกสาร
วิศวกรสนาม
เป็นผู้จัดเก็บเอกสาร โดยแยกเป็นหมวดหมู่ สามารถตรวจสอบข้อมูลและติดตามผลได้ง่าย



















กรณีบ้าน Stock
1. การตรวจงาน

ฝ่ายขายตรวจสอบสภาพความพร้อมของบ้านสำหรับขาย ถ้าไม่ผ่าน ให้ตรวจสอบโดยใช้แบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-02) และส่งผลการตรวจสอบให้วิศวกรสนาม
2. การแก้ไขงาน

วิศวกรสนามส่งใบคำขอให้แก้ไข (
FM-03) ให้ผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่รับผิดชอบ พร้อมระบุวันตรวจสอบซ้ำ และบันทึกข้อมูลการตรวจสอบลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
3. การตรวจสอบ

ฝ่ายขายเข้าทำการตรวจสอบหลังจากแก้ไขงานแล้วเสร็จ ตามรายการในแบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-02)
ถ้าผ่าน แจ้งให้วิศวกรสนามสรุปผลการตรวจสอบลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
ถ้าไม่ผ่าน ให้ส่งรายการแก้ไขให้วิศวกรสน
าม โดยใช้แบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน (FM-02)
4. การติดตามผลและประเมินผลการตรวจสอบ

วิศวกรสนามเป็นผู้กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
5. การรายงานผล

วิศวกรสนามรายงานผลการตรวจสอบ ในที่ประชุมงานก่อสร้าง ทุก 2 สัปดาห์ โดยใช้แบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ (FM-04)
การรายงานผลการตรวจสอบ ให้รายงานในวันจันทร์ สัปดาห์ ที่ 1 และ 3 ของเดือน

6. การจัดเก็บเอกสาร

วิศวกรสนามเป็นผู้จัดเก็บเอกสาร โดยแยกเป็นหมว
ดหมู่ สามารถตรวจสอบข้อมูลและติดตามผลได้ง่าย
















งบประมาณ

1. ในการตรวจเพื่อผ่านงวด End Process ผู้รับเหมาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงานทั้งหมด
2. ในการตรวจบ้
าน Slow Move (ค้าง Stock เกิน 3 เดือน) และ Non Move (ค้าง Stock เกิน 6 เดือน) บริษัทฯ ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการแก้ไขงาน เป็นจำนวนไม่เกิน 1% ของมูลค่างานก่อสร้าง โดยใช้แบบฟอร์มตรวจสอบและแจ้งยอดค่าใช้จ่ายในการเก็บงาน (CON 5-01)

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. FM-01 ใบคำขอให้ตรวจสอบคุณภาพบ้าน
2.
FM-02 แบบฟอร์มตรวจสอบคุณภาพบ้าน
3.
FM-03 ใบคำขอให้แก้ไข (CAR)
4. FM-04 แบบฟอร์มประเมินผลการตรวจสอบ

































































































































ตัวอย่างการประเมินผล