วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

เสาเข็มเยื้องศูนย์

วิธีแก้ไข พิจารณาจากประเภทของฐานรากและการเยื้องศูนย์ ดังนี้
1. ฐานรากเสาเข็มเดี่ยวและฐานรากเสาเข็มคู่ที่เยื้องศูนย์ด้านสั้น
–การแก้ไข เนื่องจาก ไม่ต้องการให้เกิดโมเมนต์ ในเสาเข็มและเสาตอม่อ เพราะจะทำให้เกิดแรงดึง ทำให้ฐานรากพลิกหลุดจากหัวเสาเข็ม ดังนั้น ตำแหน่งของฐานรากและเสาตอม่อ จะต้องอยู่ตำแหน่งเดียวกับเสาเข็มที่หนีศูนย์ ส่วนตำแหน่งของเสาอาคาร จะอยู่ตามแบบ ซึ่งทำให้ เสาตอม่อและเสาอาคาร ไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งเดียวกันได้ ดังนั้นคานคอดินจึงเป็นตัวรองรับเสาอาคารแทนเสาตอม่อ จึงต้องคำนวณขนาดและเหล็กเสริมของคานคอดินใหม่ เพื่อรองรับโมเมนต์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนักจากเสาอาคารกดลงบนคาน




2. ฐานรากเสาเข็มกลุ่ม
– หาโมเมนต์ที่เกิดขึ้นจากการเยื้องศูนย์ ระหว่างศูนย์กลางของกลุ่มเสาเข็ม กับศูนย์กลางของเสาตอม่อ
– หา นน. ที่ถ่ายลงเสาเข็มแต่ละต้น เสาเข็มแต่ละด้าน จะรับ นน. ไม่เท่ากัน เนื่องจากการเยื้องศูนย์ หาก นน. ที่ถ่ายลงเสาเข็ม มากกว่าความสามารถ ในการรับ นน. ปลอดภัยของเสาเข็ม จะต้องเพิ่มเสาเข็ม
– คำนวณเหล็กเสริมในฐานรากใหม่ เนื่องจากแขนโมเมนต์ยาวขึ้น ( กรณีเยื้องออกจากฐาน ) หรืออาจจะต้องขยายขนาดฐานรากถ้าจำเป็น
– คำนวณเหล็กเสริมในเสาตอม่อใหม่ เนื่องจากมีโมเมนต์ จากการเยื้องศูนย์ เพิ่มขึ้นมา นอกเหนือจากแรงในแนวแกน
– ตำแหน่งของเสาตอม่อและเสาอาคาร จะอยู่ตำแหน่งเดียวกัน ตามแบบ

 
 ตารางช่วยคำนวณโครงสร้าง