วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551

การดูแลรักษาบ้าน

1. การต่อเติมบ้าน
ในการต่อเติมบ้านที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกให้กับโครงสร้างของตัวอาคาร ซึ่งวิศวกรได้คำนวณขนาดของโครงสร้างไว้รับน้ำหนักเฉพาะที่ออกแบบไว้ตามแบบเท่านั้น การต่อเติมบ้านจึงอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านเกิดการทรุดตัว หรือโครงสร้างเกิดการแตกร้าว ดังนั้นจึงควรปรึกษาวิศวกรก่อนทำการต่อเติม และต้องปฎิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังนี้
ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% ของพื้นที่ที่ดิน
บ้าน 2 ชั้น ผนังบ้านด้านที่อยู่ชิดบ้านหลังอื่น ที่มีช่องเปิด ประตู หน้าต่าง ต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร ถ้าเป็นผนังทึบ ไม่มีช่องเปิด สามารถสร้างห่างเขตที่ดินได้น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าห่างเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เซ็นติเมตร ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินด้านนั้นด้วย

2. พื้นที่จอดรถ
พื้นที่จอดรถเป็นโครงสร้างที่ไม่มีเสาเข็มรองรับ เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่วางอยู่บนดินโดยตรง ซึ่งจะเกิดการทรุดตัวไปตามการทรุดตัวของดินตามธรรมชาติ เมื่อใช้งานไประยะเวลานานๆ อาจจะเกิดรอยแตกที่รอยต่อของคอนกรีตระหว่างตัวบ้านและพื้นที่จอดรถบ้าง ซึ่งในการซ่อมแซมอาจจะใช้ปูนซีเมนต์อุดตามรอยแตกที่เกิดขึ้น

3. กระเบื้องเซรามิค
กระเบื้องเซรามิคสำหรับการปูพื้นและผนัง เป็นวัสดุที่นิยมใช้กันทุกหลังคาเรือน เนื่องจากมีความสวยงาม ก่อสร้างง่าย มีระดับราคาให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับคุณภาพและลวดลายของกระเบื้อง
วิธีการดูแลรักษา ต้องระวังพยายามอย่าให้ของที่มีน้ำหนักตกกระทบ เพราะจะทำให้กระเบื้องแตกร้าวได้ การทำความสะอาดให้ใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดาบิดให้หมาดๆเช็ดถู กรณีในห้องน้ำการใช้น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำที่มีฤทธิ์รุนแรงเกินไป อาจจะทำลายปูนซีเมนต์ขาวที่ใช้ยาแนวกระเบื้อง จนทำให้น้ำซึมเข้าใต้แผ่นกระเบื้องได้
การซ่อมแซมกระเบื้องที่แตกร้าว ให้สกัดกระเบื้องแผ่นที่แตกออก ทำความสะอาดผิวคอนกรีตด้านล่าง ติดกระเบื้องแผ่นใหม่โดยใช้ปูนกาวสำหรับติดกระเบื้อง แล้วยาแนวรอยต่อของแผ่นกระเบื้องด้วยปูนซีเมนต์ขาว

4. ไม้ปาร์เก้
ไม้ปาร์เก้เป็นวัสดุที่ทำจากธรรมชาติ นิยมนำมาใช้ปูพื้นบ้าน พื้นไม้ปาร์เก้ส่วนใหญ่จะมีการเคลือบเงาบนผิวไม้เป็นการรักษาเนื้อไม้และทำให้แลดูสวยงาม
วิธีดูแลรักษา ควรระมัดระวังเรื่องความชื้น เพราะความชื้นจะทำให้พื้นปาร์เก้บวม โปร่งพอง และน้ำที่ซึมลงไปใต้แผ่นไม้ปาร์เก้ จะทำให้กาวที่ยึดปาร์เก้กับพื้นด้านล่างเสื่อมคุณภาพ ทำให้ปาร์เก้หลุดล่อน ดังนั้นถ้าทำน้ำหกใส่บนพื้นไม้ปาร์เก้ หรือโดนน้ำฝน ควรรีบเช็ดให้แห้ง และอย่าลากเฟอร์นิเจอร์กับพื้น เพราะจะทำให้พื้นไม้เป็นรอย ควรใช้การยกแทน
การทำความสะอาด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดถูบนพื้นไม้ หากพื้นไม้ไม่ค่อยเงางาม ให้ใช้ขี้ผึ้งเคลือบเงาทับ

5. หินแกรนิต

แกรนิตเป็นวัสดุธรรมชาติที่นิยมนำมาใช้ในการปูพื้นและผนัง แต่ค่อนข้างมีราคาแพง นิยมใช้ตกแต่งทั้งบ้านและสำนักงาน
วิธีดูแลรักษา ระมัดระวังไม่ให้ถูกสิ่งสกปรกที่สามารถซึมลงไปในเนื้อหินได้ เช่น คราบสีฝุ่น, คราบยางไม้ เพาะจะไม่สามารถเอาคราบสกปรกนั้นออกมาได้
การทำความสะอาด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดถู โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดใดๆ

6. หินอ่อน
หินอ่อนเป็นวัสดุธรรมชาติที่นิยมนำมาใช้ในการปูพื้นและผนังเหมือนหินแกรนิต
วิธีดูแลรักษา ระมัดระวังไม่ให้ถูก น้ำยาฟอกสี และผงซักฟอก เพาะจะทำให้หินอ่อนมีรอยด่าง และหินอ่อนเป็นหินที่อ่อนจึงไม่ควรนำวัสดุเนื้อหยาบมาขัดถู
การทำความสะอาด ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ และเช็ดถู โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดใดๆ

7. Wall Paper
วิธีดูแลรักษา ควรระมัดระวังเรื่องความชื้น เพราะความชื้นจะทำให้ Wall Paper โปร่งพอง หรือขึ้นรา ดังนั้นถ้าทำน้ำหกใส่ Wall Paper หรือโดนน้ำฝน ควรรีบเช็ดให้แห้ง
การทำความสะอาด Wall Paper จากฝุ่นละอองต่างๆ ทำได้โดยใช้ไม้กวาดหรือไม้ปัดขนไก่ปัดทำความสะอาดหรือใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดก็ได้ แต่หากดูแล้วยังไม่สะอาดจำเป็นต้องใช้การเช็ดถู ต้องทำการทดลองก่อนว่า Wallpaper ที่ใช้อยู่เป็นชนิดที่สามารถเช็ดถูด้วยน้ำได้หรือไม่ โดยทดลองเช็ดถูด้วยน้ำในบริเวณเล็กๆ ก่อนว่ามีรอยด่างหรือไม่ หากไม่เกิดรอยด่างแสดงว่าเป็นชนิดที่สามารถเช็ดถูด้วยน้ำได้
หาก Wall Paper เป็นชนิดที่เช็ดถูด้วยน้ำไม่ได้และเกิดรอยด่างเป็นดวงๆ ให้ใช้ครีมที่ทำความสะอาด Wall Paper โดยเฉพาะ จะสามารถแก้รอยด่างได้ ส่วนถ้าเกิดรอยดำจากเชื้อรา จะไม่สามารถเช็ดถูออกได้ วิธีแก้ไขคือต้องทำการลอกส่วนที่เป็นเชื้อราออก และทำการปิด Wall Paper ใหม่

8. ประตู - หน้าต่าง

วิธีดูแลรักษา ควรระมัดระวังไม่ให้บานประตู เปิดปิดอย่างรุนแรง เพราะลูกบิดอาจจะไปชนถูกผนังรอยเดือยของลูกบิดอาจจะเคลื่อน ทำให้เปิดปิดประตูยากขึ้น และไม่ควรให้เด็กห้อยโหนลูกบิดประตูเล่น นอกจากจะเกิดอันตรายแล้วยังทำให้ลูกบิดเสียและตัวบานพับหลวม ส่งผลทำให้ตัวบานตก ประตูจะฝืดขณะเปิดปิด
หากเป็นประตู – หน้าต่าง ที่เป็นลูกฟักกระจก เมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลานานๆ ขณะฝนตกอาจจะมีน้ำซึมเข้าตามขอบกระจก เนื่องจากซิลิโคนที่ใช้อุดร่องรอยต่อระหว่างกรอบบานไม้และกระจกเสื่อมสภาพ หรือหลุดล่อน ให้ลอกซิลิดคนเก่าออกแล้วอุดซิลิโคนใหม่เข้าไป
การทำความสะอาด บานประตูและบานหน้าต่างทำจากวัสดุหลัก 2 ประเภทคือ ตัวบานที่ทำจากไม้กับตัวบานที่ทำจากพลาสติก แต่การดูแลรักษาประตูหน้าต่างจะไม่ค่อยแตกต่างมากนักคือ หากมีคราบสกปรกใช้ผ้าแห้งหรือชุบน้ำสะอาดหมาดๆ เช็ดถู

9. ดวงโคม

ดวงโคมที่ใช้งานทั่วๆ ไป จะมีอยู่ 2 ชนิดคือ ดวงโคมที่ใช้หลอดนีออน เช่น ดวงโคมซาลาเปาซึ่งใช้หลอดนีออนกลม และดวงโคมนีออนยาว ชนิดที่ 2 คือ ดวงโคมที่ใช้หลอดไส้ เช่น ดวงโคมดาวน์ไลท์
สำหรับดวงโคมที่ใช้หลอดนีออน จะมีอุปกรณ์หลักๆ อยู่ภายใน 3 อย่างคือ หลอดนีออน สตาร์ทเตอร์ และ บาลลาส ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีอายุการใช้งานที่จำกัด เมื่อหมดอายุการใช้งานจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเปลี่ยนค่อนข้างบ่อยคือหลอดนีออนและสตาร์ทเตอร์ วิธีการสังเกตว่าหลอดนีออนหมดอายุการใช้งานให้ดูที่ขั้วหลอดถ้าขั้วหลอดมีสีดำแสดงว่าหลอดหมดอายุการใช้งานแล้ว ให้ถอดออกเปลี่ยนใหม่ การถอดหลอดนีออนกลม ให้ดึงปลั๊กสายไฟออกจากตัวหลอด จากนั้นจึงดึงหลอดออกจากที่ยึด การถอดหลอดนีออนยาวให้ดันตัวหลอดไปที่ขั้วข้างใดข้างหนึ่ง จนอีกข้างหลุดออกจากขั้ว แล้วจึงดึงหลอดออกมา สำหรับสตาร์ทเตอร์ ถ้าเปิดสวิทซ์ไฟแล้วสตาร์ทเตอร์ไม่ทำงานไฟจะไม่ติด ให้ตรวจสอบหลอดไฟ ถ้าหลอดปกติให้ลองเปลี่ยนสตาร์ทเตอร์ วิธีการเปลี่ยนสตาร์ทเตอร์ให้หมุนตัวสตาร์ทเตอร์เล็กน้อย จนหลุดจากที่ล็อคแล้วจึงดึงสตาร์ทเตอร์ออกมา
สำหรับดวงโคมที่ใช้หลอดไส้ วิธีการสังเกตว่าหลอดหมดอายุการใช้งานให้ดูที่ไส้หลอด ถ้าไส้หลอดขาด ให้ถอดออกเปลี่ยนใหม่ การถอดหลอดไฟในกรณีที่เป็นแบบขั้วเกลียว ให้หมุนหลอดไฟจนหลอดหลุดออกจากขั้ว

10. ถังเก็บน้ำ

ถังเก็บน้ำโดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบตั้งอยู่บนดิน ซึ่งทำจากวัสดุประเภท สเตนเลส ไฟเบอร์กลาส หรือ PE (Poly Ethylene) และแบบฝังใต้ดิน ซึ่งทำจากวัสดุประเภท ไฟเบอร์กลาส หรือ PE (Poly Ethylene) ภายในตัวถังจะมีวาล์วเปิดปิดน้ำอัตโนมัติโดยใช้ระบบลูกลอย ซึ่งเมื่อไม่มีน้ำในถังลูกลอยจะตกลงทำให้วาล์วเปิดน้ำจะไหลเข้าถัง และเมื่อน้ำเต็มถังระดับน้ำจะดันลูกลอยขึ้นทำให้วาล์วปิดน้ำจะหยุดไหล ซึ่งถ้าลูกลอยเสียอาจจะทำให้น้ำไหลเข้าถังตลอดเวลาจนน้ำล้นถัง หรือไม่มีน้ำไหลเข้าถังเลย วิธีการตรวจสอบให้ใช้มือยกลูกลอยขึ้นลง ดูการเปิดปิดของวาล์ว ถ้าวาล์วไม่ทำงานแสดงว่าลูกลอยเสีย ให้ถอดออกเปลี่ยนชุดลูกลอยใหม่

11. ถังบำบัดน้ำเสีย

ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป จะใช้แบคทีเรียในการย่อยสลายสารอินทรีย์ จะรับน้ำเสียจากชักโครกเท่านั้น ส่วนน้ำจากครัวและตะแกรงระบายน้ำที่พื้นจะไหลลงสุ่บ่อพักโดยตรง น้ำที่ผ่านการบำบัดจากถังบำบัดแล้วจะไหลลงบ่อพัก แล้วระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ตัวถังบำบัดน้ำเสัยทำจากวัสดุประเภท PE (Poly Ethylene) เป็นแบบฝังใต้ดิน จะสังเกตุเห็นฝาถังอยู่ภายนอกตัวบ้าน ซึ่งไม่ควรเอาวัตถุที่มีน้ำหนักมากวางทับ เพราะอาจจะทำให้ตัวถังแตกเสียหายได้

12. ปั๊มสูบน้ำ

ระบบ การทำงานของปั๊มสูบน้ำ จะสูบน้ำจากถังเก็บน้ำขึ้นไปจ่ายบนตัวบ้าน โดยจะทำงานอัตโนมัติด้วยสวิทซ์แรงดัน หมายถึงเมื่อเปิดก็อกน้ำ จะทำให้แรงดันในเส้นท่อลดลงสวิทซ์จะเปิดให้ปั๊มทำงาน และเมื่อปิดก๊อกน้ำปั๊มจะอัดน้ำเข้าเส้นท่อจนมีแรงดันเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง สวิทซ์จะปิด ปั๊มจะหยุดทำงาน ซึ่งถ้าบางจุดเกิดท่อแตก ท่อรั่ว หรือลูกลอยของชักโครกบางตัวเสีย ไม่ปิดน้ำเมื่อน้ำเต็มหม้อน้ำ ทำให้น้ำล้นลงในชักโครกตลอดเวลา ปั๊มจะทำงานไม่หยุด ต้องทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก่อน ปั๊มจึงจะทำงานเป็นปกติ
ในกรณีที่ไฟฟ้า ดับปั๊มจะไม่ทำงาน ถ้าต้องการใช้น้ำภายในบ้านให้เปิดวาล์ว By Pass น้ำจากท่อเมนประปาจะวิ่งเข้าบ้านโดยตรงโดยไม่ผ่านปั๊มสูบน้ำ แต่หลังจากไฟฟ้าติดแล้วให้ปิดวาล์ว By Pass กลับไปใช้ปั๊มตามปกติ ตำแหน่งวาล์ว By Pass สามารถดูได้จากผังระบบประปา

13. อ่างล้างหน้า
อ่างล้างหน้าจะมีที่ดักกลิ่นโดยใช้ระบบการขังตัวของน้ำภายในท่อเพื่อกันไม่ให้กลิ่นจากด้านล่างผ่านขึ้นมา ซึ่งโดยทั่วไปมีใช้อยู่ 2 แบบ คือ แบบข้องอ และแบบกระปุก ซึ่งถ้ามีสิ่งสกปรกตกลงไปอาจจะไปขังที่ส่วนนี้ ทำให้ระบายน้ำไม่ได้หรือระบายได้ช้า วิธีการแก้ไขต้องถอดท่อส่วนดักกลิ่นออก ซึ่งออกแบบไว้ให้ถอดออกทำความสะอาดได้ โดยให้ขันเกลียวที่ยึดส่วนดักกลิ่นออกทั้ง 2 ด้าน ฉีดน้ำล้างสิ่งสกปรกที่อยู่ภายในออก แล้วประกอบกลับเข้าไปตามเดิม ซึ่งที่เกลียวยึดท่อจะมีแหวนยางสำหรับป้องกันการรั่วซึม ถ้าแหวนยางเสื่อมคุณภาพ จะทำให้น้ำรั่วซึมออกจากรอยต่อ ต้องเปลี่ยนแหวนยางใหม่

14. ชักโครก

ชักโครกจะมีหม้อน้ำสำหรับเก็บน้ำไว้ใช้งาน ซึ่งการเปิดปิดน้ำของหม้อน้ำจะเป็นระบบอัตโนมัติ โดยใช้ลูกลอย เหมือนถังเก็บน้ำ และมีระบบน้ำล้นลงในตัวชักโครกเอง ซึ่งถ้าระบบลูกลอยเสีย อาจจะทำให้วาล์วไม่ปิดเมื่อน้ำเต็มถัง ซึ่งจะทำให้น้ำล้นลงไปที่ตัวชักโครกตลอดเวลา วิธีแก้ไขต้องซ่อมระบบลูกลอยหรือเปลี่ยนชุดลูกลอยใหม่

15. สายฉีดชำระ
สำหรับอายุการใช้งานของฝักบัวฉีดชำระ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคล เนื่องจากเป็นวัสดุประเภทพลาสติก ดังนั้น การใช้งานจึงไม่ควรทำตกกระแทกพื้นบ่อยครั้ง ซึ่งอาจทำให้มีรอยร้าวที่ก้านกดน้ำและเป็นผลให้หักได้ในเวลาต่อมา จะเห็นได้ว่าก้านพลาสติกที่เป็นตัวกดน้ำนี้มักจะแตกหักเสียหายก่อนชิ้นส่วนอื่นเสมอ และหากชำรุดก็ต้องซื้อหัวฉีดชำระมาเปลี่ยนใหม่ การถอดเปลี่ยนให้ใช้ประแจคอม้า หรือคีมขันเกลียวที่ยึดหัวฉีดชำระออก แล้วใส่ของใหม่ทดแทนเข้าไป โดยใส่ประเก็นยางเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมแล้วจึงขันหัวเกลียวให้แน่นพอประมาณ

16. ระบบท่อระบายน้ำ

ท่อระบายน้ำชั้นบนจะมีที่ดักกลิ่น (P-Trap) อยู่ใต้พื้นห้องน้ำโดยใช้ระบบการขังตัวของน้ำภายในท่อเพื่อกันไม่ให้กลิ่น จากด้านล่างผ่านขึ้นมา ส่วนท่อระบายน้ำชั้นล่างจะใช้ตะแกรงระบายน้ำที่พื้นชนิดกันกลิ่นที่พื้นห้อง น้ำ โดยใช้ระบบการขังตัวของน้ำภายในตัวตะแกรงระบายน้ำเพื่อกันไม่ให้กลิ่นจาก ด้านล่างผ่านขึ้นมา

17. รั้วเหล็ก

รั้วเหล็กภายนอกบ้าน เมื่อโดนแดดโดนฝนเป็นระยะเวลานานๆ สีกันสนิมที่ทาไว้เดิมอาจจะเสื่อมคุณภาพลงตามกาลเวลา อาจจะเกิดสนิมขึ้นบางจุดและจะลามต่อเนื่องกัดกินเนื้อเหล็กไปเรื่อยๆ ต้องทำการทาสีกันสนิมใหม่ ก่อนที่โครงสร้างของเหล็กจะเสียหายมากโดยขัดสีเดิมที่หลุดล่อนออกก่อน แล้วจึงทาสีใหม่ทับลงไป เพื่อสีที่ทาลงไปใหม่จะได้ยึดเกาะกับผิวเหล็กได้ดี ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

18. ระบบกำจัดปลวก

ระบบกำจัดปลวก โดยวางท่อน้ำยาเคมี เป็นระบบที่วางท่อสำหรับฉีดน้ำยาเคมีไว้ใต้ตัวบ้าน โดยติดตั้งหัวฉีดตามท่อไว้เป็นจุดๆ ให้สามารถกระจายน้ำยาเคมีได้เต็มพื้นที่ และทิ้งปลายท่อสำหรับอัดน้ำยาไว้นอกตัวบ้าน ในกรณีที่น้ำยาที่ฉีดไว้เดิมเสื่อมสภาพสามารถฉีดน้ำยาลงไปใหม่ได้โดยไม่ต้อง เจาะพื้นบ้าน
ในกรณีที่อยู่ในอายุการรับประกัน บริษัทกำจัดปลวกจะเข้ามาตรวจสอบให้เป็นระยะ ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในใบรับประกัน หรือหากตรวจพบปลวกในบ้านสามารถโทรแจ้งบริษัทกำจัดปลวก ให้ส่งพนักงานมาตรวจสอบและกำจัดปลวกได้
ในกรณีที่หมดอายุการรับประกันแล้ว สามารถจัดจ้างบริษัทกำจัดปลวกเข้ามาฉีดน้ำยาเคมีและรับประกันให้ใหม่ โดยใช้ระบบท่อที่วางไว้เดิม

การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต










ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์










วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551

คอนกรีตสำหรับงานโครงสร้างเปลือยผิว

จุดที่สำคัญของงานโครงสร้างเปลือยผิวคือต้องการผิวของคอนกรีตที่เนียนเรียบไม่มีรูพรุน โดยมีค่ากำลังอัดตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งในการผสมคอนกรีตให้มีคุณสมบัติดังกล่าว มีปัจจัยที่สำคัญดังนี้
1. มีปริมาณปูนซีเมนต์ที่เพียงพอเพื่อให้ได้ค่ากำลังอัดตามที่ต้องการ
2. มีปริมาณมอร์ต้าร์ (ปูนซีเมนต์ + ทราย + น้ำ) ที่เพียงพอที่จะเคลือบผิวคอนกรีต
3. คอนกรีตมีการไหลตัวที่ดีเพื่อซอกซอนเข้าไปตามช่องและมุมของไม้แบบ
4. ฟองอากาศมีการกระจายตัวสม่ำเสมอและมีขนาดเล็กเพื่อทำให้ผิวคอนกรีตเนียนเรียบสวยงาม
ในการผสมคอนกรีตที่หน้างานโดยปรับปรุงคอนกรีตสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป สูตร 1:2:4 (โดยปริมาตร) ให้เหมาะสำหรับงานโครงสร้างเปลือยผิว ทำได้โดยปรับส่วนผสมให้มีมอร์ต้าร์มากขึ้นโดยเพิ่มปริมาณทราย ลดปริมาณหินลงในสัดส่วนที่เท่ากัน โดยอาจจะปรับสูตรเป็น 1:2.25:3.75 หรือ 1:2.5:3.5 และหินที่ใช้ไม่ควรมีขนาดใหญ่มากนัก
ในการผสมให้คอนกรีตมีการไหลตัวที่ดีควรมีความข้นเหลว (Slump) ที่สูงเพียงพอ แต่ต้องไม่เหลวเกินไปจนทำให้คอนกรีตแยกตัว (หิน-ทรายตกตะกอนแยกตัวออกจากซีเมนต์) ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการไหลตัวของคอนกรีตเสียไป
สำหรับการทำให้ฟองอากาศกระจายตัว ทำได้โดยใส่สารกระจายฟองอากาศ ซึ่งในการผสมต้องมีการตวงปริมาณที่แน่นอน และมีการผสมให้กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าข้อกำหนดของงานไม่กำหนดให้ผิวของคอนกรีตเนียนเรียบมาก อาจจะตัดสารตัวนี้ออกไปได้
ในการเทคอนกรีตถึงแม้จะมีคอนกรีตที่มีส่วนผสมที่ดีแล้ว ต้องมีการเทคอนกรีตที่ดีด้วย โดยระหว่างการเทคอนกรีตต้องระวังไม่ให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว มีการสั่นเขย่าคอนกรีตเพื่อให้คอนกรีตมีความแน่นตัวและไหลไปเต็มทั่วแบบหล่อ
และในการปรับส่วนผสมโดยเพิ่มปริมาณทรายและน้ำเข้าไปจะทำให้ค่ากำลังอัดของคอนกรีตลดลง แต่คอนกรีตสูตร 1:2:4 จะได้ค่ากำลังอัดประมาณ 300 กก./ตร.ซม. (Cube) ซึ่งถ้าค่ากำลังอัดที่ต้องการต่ำกว่า 300 กก./ตร.ซม. อาจจะใช้วิธีนี้ได้ อย่างไรก็ตามการจะรู้ค่ากำลังอัดที่แท้จริงจากการปรับส่วนผสมสามารถทำได้โดยการเก็บตัวอย่างแล้วส่งทดสอบในห้องทดสอบต่อไป

Fly Ash Concrete

Fly Ash
Fly Ash เกิดจากถ่านหิน ได้จากการเผาถ่านหิน แล้วดักจับฝุ่นที่เกิดจากการเผา ซึ่งแบ่งออกเป็น
Bottom Ash
Fly Ash
Fly Ash
คุณภาพของ Fly Ash ขึ้นอยู่กับคุณภาพของถ่านหิน ซึ่งคุณภาพของถ่านหินแบ่งออกเป็น
Anthracite
Bituminous
Sub-bituminous
Lignite
ในเมืองไทยจะเป็นถ่านหินคุณภาพต่ำคือ Lignite ทำให้ Fly Ash ที่ได้มีคุณภาพต่ำ
แหล่ง Fly Ash ที่สำคัญของเมืองไทยอยู่ที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งใช้ถ่านหิน Lignite (บางส่วนเป็น Sub-bituminous) ในการต้มน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ Fly Ash ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี หรือผลิตคอนกรีตได้ 100,000 ลบ.ม.ต่อวัน เป็น Fly Ash ที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ แต่มีปริมาณมากและราคาถูก
มาตรฐานของ Fly Ash ตาม ASTM C 618 แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ N, F, C ตามคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ Class N จะมีคุณภาพดีที่สุด และ Class C มีคุณภาพต่ำที่สุด ซึ่ง Fly Ash จากแม่เมาะจะอยู่ในชั้นคุณภาพ F ถึง C
Fly Ash เป็น By Produce ที่ได้จากเผาถ่านหิน คุณสมบัติ ของ Fly Ash จึงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของถ่านหิน และคุณสมบัติของถ่านหินขึ้นอยู่กับแหล่งของถ่านหินหรืออายุของถ่านหิน แต่ในเมืองไทยแหล่งถ่านหินที่มีส่วนมากจะเป็นถ่านหินประเภท Lignite ซึ่งมีอายุน้อยและมีคุณภาพาต่ำ และที่มีแหล่งถ่านหินแม่เมาะเป็นถ่านหินประเภท Lignite ทำให้ Fly Ash ที่ได้มีคุณภาพต่ำ และเนื่องจาก Fly Ash เป็น By Produce จึงไม่มีการควบคุมคุณภาพเหมือนปูนซีเมนต์ คุณภาพของ Fly Ash จึงไม่มีความสม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับว่า Fly Ash Lot นั้นได้จากถ่านหิน Lot ที่มีคุณภาพดีหรือไม่ เมื่อนำ Fly Ash มาใช้ในการผสมคอนกรีตจึงมีโอกาสเลี่ยงเนื่องจากคุณภาพของ Fly Ash ที่ไม่สม่ำเสมอค่อนข้างสูง จึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของ Fly Ash ก่อนที่จะนำมาใช้งานทุก Lot ซึ่งการตรวจสอบทำได้โดยการทดสอบคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ หัวข้อตาม ASTM แต่ถ้าทดสอบทุกหัวข้อจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากและใช้เวลานานจึงอาจจะทดสอบเฉพาะคุณสมบัติที่สำคัญบางอย่าง ที่มีผลต่อคุณภาพของคอนกรีตค่อนข้างมาก เช่น
1. ปริมาณ Sio2 , Al2O3O3 , Fe2O3 ซึ่งมีผลต่อค่ากำลังอัดของคอนกรีตโดยตรง
2. ปริมาณ SO3 ซึ่งมีผลต่อการแตกร้าวของคอนกรีต
3. Finess ซึ่งมีผลต่อความเร็วในการทำปฏิกิริยาของ Fly Ash
4. ปริมาณ CaO เป็นสารเริ่มต้นในการทำปฏิกิริยาของปูนซีเมนต์
5. Loss on Ignition เป็นการเผาเพื่อหาปริมาณ Cabon ซึ่งถ้าคาร์บอนมากจะทำให้ค่ากำลังอัดของคอนกรีตลดลง

Fly Ash concrete
Fly Ash เป็นสารเชื่อมประสานคล้ายปูนซีเมนต์แต่จะทำปฏิกิริยาไม่เหมือนปูนซีเมนต์ โดยจะทำปฏิกิริยาต่อเนื่องจากปูนซีเมนต์โดยใช้สารที่เหลือจากปฏิกิริยาของปูนซีเมนต์เข้ามาใช้ในการทำปฏิกิริยาให้เกิดสารเชื่อมประสาน ซึ่งเราเรียกสารชนิดนี้ว่าสาร Pozzolan
ปูนซีเมนต์ + น้ำ => สารเชื่อมสาน + สารเหลือ

Cement + H2O => CSH + Ca(OH)2
Fly Ash + น้ำ + สารเหลือ => สารเชื่อมประสาน
Fly Ash + H2O + Ca(OH) 2 => CSH
จากลักษณะการเกิดปฏิกิริยาจะเห็นว่าปฏิกิริยาของ Fly Ash เพื่อสร้างสารเชื่อมประสานจะต้องใช้สารที่เหลือจากปฏิกิริยาของปูนซีเมนต์เป็นส่วนประกอบ ปฏิกิริยาของ Fly Ash จึงเกิดขึ้นหลังปฏิกิริยาของปูนซีเมนต์ เพราะสาเหตุนี้จึงทำให้ Strength ของ Fly Ash Concrete ขึ้นช้ากว่า Normal Concrete ซึ่งเป็นข้อเสียอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ Fly Ash Concrete ไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับคอนกรีตประเภท High Early strength Concrete แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็สามารถใช้ได้เหมือนกันโดยใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภท Superplastizizer เข้าช่วยเพื่อเร่งStrength ให้ช่วงเริ่มต้น เช่นงาน Post–tension Slab
อัตราส่วนผสมในการใช้ Fly Ash ทดแทนปูนซีเมนต์จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการลดต้นทุน, ค่ากำลังอัดที่ได้, ความเสี่ยงเนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของคุณภาพ Fly Ash ซึ่งส่วนมากจะใช้ Fly Ash ทดแทนปูนซีเมนต์ที่ 20 -30 % โดยน้ำหนัก

ข้อดีของ Fly Ash Concrete
1. ลดต้นทุนค่าวัตถุดิบ เนื่องจาก Fly Ash มีราคาถูกกว่า Cement
2. คอนกรีตมีการไหลตัวได้ดี เนื่องจากเม็ดของ Fly Ash มีลักษณะกลม เหมาะกับงาน Self Compacting concrete
3. เกิดความร้อนต่ำเนื่องจาก Fly Ash จะทำปฏิกิริยาหลัง Cement ลดปัญหาการแตกร้าว เหมาะกับงาน Low Heat Concrete
4. Slump Loss ช้า
5. ลด Bleeding และ Segregation
6. เพิ่มกำลังอัดของคอนกรีตที่อายุมากกว่า 28 วัน
7. เพิ่มความทนทานของคอนกรีต เนื่องจากใช้น้ำน้อยลง และปฏิกิริยาของ Fly Ash ทำให้ช่องว่างในเนื้อคอนกรีตลดลง
8. เพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน ทนการกัดกร่อนของซัลเฟตได้ดี เนื่องจากปฏิกิริยาของ Fly Ash จะลด Ca(OH)2 ซึ่งทนการกัดกร่อนได้น้อย
9. ลดการหดตัว
10. ลดอัตราการซึมผ่านของน้ำ

ข้อเสียของ Fly Ash Concrete
1. ไม่เหมาะกับงาน High Early Strength Concrete เนื่องจาก Fly Ash ทำปฏิกิริยาช้า.
2. คุณภาพของ Fly Ash ควบคุมได้ยาก เนื่องจาก เป็น By Produce ที่ได้จากการเผาถานหิน
3. มีโอกาส Set Delay ได้ง่าย
4. ลดความต้านทานต่อสภาวะ Freezing and Thawing

ข้อควรระวังในการผลิต Fly Ash Concrete

1. ควรมีการทดสอบคุณภาพของ Fly Ash ทุก Lot เพื่อป้องกันปัญหาความไม่สม่ำเสมอของคุณภาพ
2. ควรมีการควบคุมปริมาณน้ำยาหน่วง และปริมาณน้ำในส่วนผสมไม่ให้เกินค่าที่ออกแบบไว้ เนื่องจาก Fly Ash จะทำให้คอนกรีตมีความไวต่อการหน่วงการก่อตัวมากขึ้น
3. ไม่ควร Load คอนกรีตเหลวเกินไปหรือเต็มน้ำหน้างาน เพราะจะทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตยุ่ย ไม่แข็งตัวเนื่องจาก Fly Ash จะลอยขึ้นที่ผิวหน้าของคอนกรีตและไม่เกิดการทำปฏิกิริยา
4. ควรมีการบ่มคอนกรีตอย่างต่อเนื่อง เพราะ Fly Ash จะทำปฏิกิริยาได้ช้า น้ำจากการบ่มจึงมีผลต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตมาก

การพัฒนา Fly Ash Concrete ในปัจจุบัน
1. การใช้ Fly Ash ร่วมกับน้ำยาประเภท Mid Rang เพื่อลดต้นทุนในการผลิต น้ำยาประเภท Mid Rang เช่น Hycol, Plastocrete 907 จะสามารถลดน้ำได้ประมาณ 15-18% ซึ่งอยู่ในช่วงกลางระหว่าง Daratard 17 (8%) และ Daracem 100 (30-35%) เมื่อใช้แทน D–17 จะสามารถลดน้ำได้มากกว่า ทำให้ได้ว่ากำลังอัดที่สูงขึ้น เหมาะกับงานโครงสร้างทั่วไป งานเสาเข็มเจาะ
2. การใช้ Fly Ash ร่วมกับน้ำยา Superplastizizer เช่น Daracem 100 เพื่อใช้กับงาน
o Post – tension Slab ใช้น้ำยา Superplastizizer เข้าไปเร่ง Strength ช่วงแรกให้สามารถดึงลวดได้ที่ 3 วัน
o ฐานรากขนาดใหญ่ ที่ต้องการคอนกรีตความร้อนต่ำ เพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต ใช้น้ำยา Supperplastizizer เพื่อลดปริมาณปูนซีเมนต์ และปฏิกิริยาของ Fly Ash จะเกิดช้ากว่า Cement ทำให้เกิดความร้อนน้อยกว่า

o คอนกรีตไหลเข้าแบบง่าย (Self Compacting Concrete) ใช้สำหรับงานที่ไม่สามารถใช้เครื่องเขย่าคอนกรีตได้ ใช้น้ำยา SuperPlastizizer และ Fly Ash เพื่อเพิ่มการไหลตัวของคอนกรีต
o คอนกรีตทนซัลเฟต ใช้น้ำยา Superplastizizer เพื่อลด w/c ให้คอนกรีตมีความแน่นมากขึ้นและใช้ Fly Ash เพื่อเปลี่ยน Ca(OH2) เป็น CSH ซึ่งทนต่อการกัดกร่อนได้มากกว่า